พิธีกรรมหลังความตายของศาสนาพุทธ

Untitled-4

การแจ้งตาย

ให้เจ้าบ้านหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีการตายภายใน 24 ชั่วโมง

Untitled-1

การนำศพไปวัด

การนำศพไปวัดอาจติดต่อขอให้ทางวัดจัดรถไปรับศพหรือแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ขอให้จัดรถส่งศพให้ และนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป มาชักศพที่จะเคลื่อนไปสู่วัดที่นำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล 

การอาบน้ำศพ/รดน้ำศพ

ประเพณีไทยเมื่อมีผู้เสียชีวิตลง ญาติพี่น้องจะทำพิธีอาบน้ำศพคือการชำระล้างร่างกายผู้ตายให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าให้สวยงามเรียบร้อย และหลังจากนั้นก็ทำการรดน้ำศพเพื่อเป็นการขอขมาแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

การจัดงานบำเพ็ญกุศล

การสวดพระอภิธรรม ประจำคืน นิยมเริ่มจัดทำตั้งแต่วันตั้งศพเป็นต้นไปทุกคืนโดยนิยมสวด 1 คืน , 3 คืน , 5 คืน , 7 คืน จนครบ 100 วัน หรือจนถึงวันฌาปนกิจศพ

การบรรจุเก็บศพ

การบรรจุเก็บศพ จะกระทำในวันสุดท้ายของการสวดพระอภิธรรม โดยสวดศพจบสุดท้ายเสร็จแล้วจะนำศพไปเก็บที่สุสาน หรือ ที่ศาลาหลังจากสวดพระอภิธรรมตามกำหนดแล้ว หากญาติประสงค์จะเก็บศพไว้ก่อน เพื่อรอญาติหรือรอโอกาสอันเหมาะสม ที่จะทำการฌาปนกิจหรือบรรจุศพฝังไว้ในสุสานต่อไป

13

การฌาปนกิจศพ

การปลงศพ หรือ เผาศพ เจ้าภาพจะต้องกำหนดวันที่จะทำการฌาปนกิจศพที่แน่นอน แล้วทำความตกลงกับเจ้าหน้าที่ของวัดหรือฌาปนสถานก่อนทั้งนี้เพื่อเป็นการเลือกจองวันและเวลาที่ต้องการ

55

การเก็บอัฐิ

นิยมปฎิบัติกัน 2 แบบคือ 1) ทำพิธีเก็บอัฐิในวันเผา : ใช้ปฎิบัติในงานพระราชทานเพลิงศพ หรืองานฌาปนกิจศพที่จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลอัฐิติดต่อกัน เพื่อรวบรัดงานให้เสร็จภายในวันนั้น 2) ทำพิธีเก็บอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น : ใช้ปฎิบัติในงานเผาศพที่เจ้าภาพ ประสงค์จะทำบุญอัฐิในวันรุ่งขึ้น (ทำบุญสามหาบ) หรือยังไม่จัดทำบุญอัฐิเพราะยังไม่พร้อม

ลอยอังคาร

คำว่า "ลอย" คือการปล่อยให้ลอยตามน้ำ (หรืออากาศ) คำว่า "อังคาร" คือ เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว คำว่า "ลอยอังคาร" จึงหมายถึง การนำอัฐิไปลอยในน้ำ โดยนิยมไปลอยกันในแม่น้ำหรือทะเล

การรดน้ำศพ

เราสามารถเลือกได้ว่าจะรดน้ำศพที่โรงพยาบาลหรือจะไปรดน้ำศพที่วัด การรดน้ำศพนั้นมีจุดหมายโดยตรงคือเพื่อขอขมาลาโทษต่อผู้ล่วงลับเป็นการขออโหสิกรรมให้แก่กัน หรือจองเวรจองกรรมกันต่อไปอีก ขอให้สิ้นสุดกันแค่นี้ แต่ถ้าผู้ตายมีอาวุโสน้อยกว่า ไม่นิยมรดน้ำศพเพื่อขอขมาแต่ไปในงานเพื่อให้เกียรติและไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับ

โลงศพและสถานที่จัดงาน

การเลือกวัดหรือสถานที่จัดงาน นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ควรเลือกวัดที่สะดวกต่อการเดินทางของผู้มีเกียรติที่จะมาร่วมงาน

ของชำร่วย

ของชำร่วยเป็นอีกอย่างที่แสดงถึงการให้เกียรติแก่ผู้มาแสดงความไว้อาลัยภายในงาน ของชำร่วยที่นิยมแจกกัน เช่น ลูกอมกับด้ายแดง มีความเชื่อว่าเป็นการแก้เคล็ด ชีวิตจะหวานชื่นเหมือนลูกอม และ ชีวิตจะมีความเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นเพราะสีแดงเป็นสีมงคลของคนจีน ซึ่งเจ้าภาพอาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องมีของชำร่วยเหล่านี้ นอกจากนี้ทางร้านเรายังมีบริการรับทำของชำร่วยอีกด้วย

พวงหรีด

พวงหรีดนับเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย โดยคนสมัยนั้นจะเปรียบเทียบพวงหรีดคล้ายๆ ว่าเป็นสิ่งที่ใช้เคารพบูชาทูตสวรรค์ที่ลงมารับวิญญาณของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว ก็นับเป็นความเชื่อที่บอกเล่าและสืบทอดต่อๆ กันมา พวงหรีดร้านเรามีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น พวงหรีดพัดลม พวงหรีดต้นไม้ พวงหรีดดอกไม้สด พวงหรีดผ้า หรือพวงหรีดนาฬิกา

ความเชื่อ 7 อย่างที่ควรรู้เมื่อไปงานศพ

1.พกกิ่งทับทิมใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อขณะอยู่ในงานศพ ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ กิ่งทับทิมเป็นต้นไม้ที่ขจัดความเลวร้าย หรืออำนาจมืดทั้งหลาย หากพกกิ่งทับทิมไปงานศพ จะป้องกันเราจากเรื่องร้ายๆ หรือความไม่เป็นมงคลต่างๆ
2. เตรียมใบทับทิมไว้ล้างหน้า เชื่อกันว่า หลังกลับจากงานศพ เพื่อป้องกันไม่ให้วิญญาณคนตายตามเราเข้าบ้าน ควรล้างหน้าด้วยใบทับทิม
3.นำเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้อง โบราณว่า คนท้องไม่ควรไปร่วมงานศพ แต่หากมีอันต้องไป แนะนำให้ติดเข็มกลัดไว้ที่เสื้อคลุมหรือชุดคลุมท้อง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเร้นลับที่ไม่ดีสามารถมาทำอันตรายกับเด็กในครรภ์ได้
4. พกมีดขณะอยู่ในงานศพ ฟังดูหวาดเสียวชอบกล แต่ ‘มีด’ ในที่นี้ คือพวกมีดโกนเล็กๆ หรือของมีคมขนาดไม่ใหญ่มาก ตามความเชื่อบอกว่า จะเป็นการป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ ในงานศพ
5. อย่าชมพวงหรีดว่าสวย ไม่ว่าจะสวยงามอลังการแค่ไหนก็ตาม กรุณางดชื่นชม หรือสงบปากสงบคำไว้ดีกว่า เพราะเชื่อกันว่า การชื่นชมพวงหรีด จะทำให้เกิดงานศพตามกันมาอีกหลายงาน
6. ตอนที่ร่างกายมีบาดแผล ห้ามไปงานศพ ความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่โบราณอีกเช่นกันค่ะ เป็นความเชื่อที่คนเฒ่าคนแก่ถือกันมาก เพราะพวกเขาเชื่อว่าหากไปร่วมงานศพทั้งๆ ที่มีบาดแผลจะทำให้แผลเน่าเปื่อยหรือหายช้า
6.ไม่ส่งต่อดอกไม้จันทน์ให้กันในงานศพ ดอกไม้จันทน์เป็นดอกไม้ที่มอบให้ผู้ตายในงานศพเพื่อแสดงความอาลัย ดังนั้นการส่งต่อหรือยื่นดอกไม้จันทน์ให้แก่กันจึงถือว่าเป็นการแช่ง
Previous
Next

ดอกไม้ที่นำมาใช้จัดงานศพ

  • งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นในโอกาสการเสียชีวิตของบุคคล ประเพณีเกี่ยวกับงานศพนั้นแตกต่างไปตามวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น เพื่อแสดงถึงความไว้อาลัยแก่ผู้ล่วงลับ การจัดดอกไม้ในงานศพ ล้วนเป็นการประดับตกแต่งความสวยงามภายในงาน และทั้งช่วยในการผ่อนคลายความโศกเศร้า ดอกไม้แต่ละชนิดที่นำมาใช้นั้นล้วนมีความหมายที่ควรค่าแก่การจดจำ 

Contact